Pressure
Regulator คืออะไร?
Pressure Regulator หรือ อุปกรณ์ปรับแรงดัน ทำหน้าที่ในการ “ควบคุมแรงดัน” ของของไหล โดยสามารถคุมแรงดันได้ในฝั่งขาออก หรือฝั่งขาเข้า ขึ้นอยู่กับประเภทของ Pressure Regulator นั้นๆ โดย Pressure Regulator สามารถแบ่งประเภทหลักๆได้ 2 ประเภทคือ
1. Reducing
Pressure Regulator (ปรับลดแรงดัน)
จะทำหน้าที่ควบคุม/ลดแรงดันฝั่งขาเข้าที่เข้ามาสูงไม่ว่าจะเป็นก๊าซหรือของเหลว ให้ระบายไปฝั่งขาออกตามที่ต้องการ โดยจะรักษาแรงดันขาออกให้ได้คงที่ตามค่าที่ตั้งเอาไว้ (ควบคุม downstream/ outlet pressure)
2. Back
Pressure Regulator (ระบายแรงดัน)
มีหน้าที่ระบายแรงดันขาเข้าที่สูงเกินไปในระบบส่งออกออกไปยังฝั่งขาออก เพื่อรักษาระดับแรงดันด้านขาเข้าให้คงที่ตามค่าที่ตั้งเอาไว้ และเพื่อความปลอดภัยของระบบ (upstream/ inlet pressure)
- Regulator มีหน้าที่ควบคุมปรับลดแรงดันเท่านั้น
- Check Valve คืออุปกรณ์ป้องกันแรงดันย้อนกลับ (ไม่ได้สร้างแรงดัน)
- Compressor จะใช้ในกรณีที่ต้องการสร้าง/เพิ่มแรงดัน + (แรงดันผลักเข้า)
- Vacuum จะใช้ในกรณีที่ต้องการสร้าง/เพิ่มแรงดัน - (แรงดันดูดออก)
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าแก๊สต้นทางมีแรงดันอยู่ที่ 7 bar ที่ส่งมาถึง Regulator ก็จะจ่ายออกมากสุดแค่ 7 bar (เท่ากับต้นทาง) หากอยากจะให้แรงดันมากกว่า ต้นทางจำเป็นจะต้องใช้ Compressor ช่วยนั่นเอง
สถานะของของไหลที่สามารถใช้ได้กับ Pressure Regulator
Pressure Regulator สามารถใช้ได้ทั้ง ของเหลว (Liquid) และ ก๊าซ(Gas) แต่ไม่สามารถใช้กับ ไอน้ำ (Steam) ได้เพราะไอน้ำจัดเป็นของ ไหลที่ถือว่าเป็นสถานะผสม นั่นรวมไปถึงสารประกอบหรือของไหลที่มีสถานะผสมอื่นๆเช่นเดียวกัน
* สถานะผสม คือ
มี 2 สองสถานะในของไหลเดียวเช่น เป็นก๊าซผสมมากับของเหลว
**
การปรับลดแรงดันของไอน้ําต้องใช้ Pressure Control Valve (PCV) ของไอน้ำโดยเฉพาะ
Pressure
Regulator ต่างกับ Valve อย่างไร?
Pressure
Regulator
ทําหน้าที่ในการควบคุมแรงดัน หากแรงดันมีการเปลี่ยนแปลงในระบบ ตัว Pressure Regulator เองก็สามารถปรับแรงดันให้คงที่ตามค่าที่ตั้งไว้ได้เองโดยที่ผู้ปฏิบัติงานไม่จําเป็นต้องไปปรับค่าที่ตัว Pressure Regulator อีก (เว้นแต่ต้องการจะตั้งค่าใหม่)
Valve
ทําหน้าที่ในการควบคุมการไหลและอัตราการไหล
ในกรณีที่อัตราการไหลในระบบเปลี่ยนแปลง อัตราการ
ไหลที่ไหลผ่าจะวาล์วจะแปรเปลี่ยนไปตามอัตราการไหลของระบบ
ไม่สามารถปรับอัตราการไหลด้วยตัววาล์วเองได้ หากต้องการปรับอัตราการไหล ผู้ปฏิบัติงานจําเป็นต้องมาปรับค่าใหม่
Load
Mechanisms (กลไกการรับภาระ)
Pressure Regulator สามารถแบ่งประเภทตามกลไกการรับภาระได้ 4 ประเภท คือ
การรับภาระด้วยสปริงทําให้รับแรงดันได้สูง แต่อัตราการความแม่นยําในการกระจายภาระและการรับรู้การ เปลี่ยนแปลงแรงดันนั้นจะต่ำ
การรับภาระด้วยแรงดันก๊าซทําให้การกระจายภาระและการรับรู้การเปลี่ยนแปลงแรงดันนั้นจะนั้นมีความแม่นยําสูง แต่จะจําทําให้การรับแรงดันนั้นทําได้นั้นอาจไม่สูงเท่าสปริง
เป็นการนําระบบกลไกในข้อที่
1 และ 2
มารวมกันเพื่อชดเชยข้อดีและข้อเสียของกันและกัน
4.Pneumatic Loading (การรับภาระด้วยแรงดันลม)
กลไกจะมีความคล้ายคลึงกลไกของ Dome Loading นั่นคือการใช้กลไกรับภาระด้วยก๊าซ(ในที่นี้คือ อากาศ) โดยปกติแล้วกลไกประเภทนี้จะเหมาะกับงานที่ต้องการความแม่นย้ําในการปรับสมดุลแรงดันที่สูงมากๆ เช่น ถังเก็บสารเคมีหรืออุปกรณ์ที่ต้องปรับแรงดันในระดับ mbar (มิลลิบาร์)
รุ่นและขนาดของ
Pressure
Regulator
Swagelok มี Pressure
Regulator อยู่ 2 รุ่น คือ
1. K Series
2. RHPS Series
Regulator ตัวใหญ่ มักถูกเลือกเมื่อต้องต่อเข้ากับไลน์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1/2 นิ้ว เป็นต้นไป หรือ งานที่ต้องการความเฉพาะด้าน (เช่นแรงดันต่ำมากๆในระดับ mbar) หรือต้องการอัตราการไหลที่สูงมาก
Sensing Type (ประเภทของตัวรับแรง)
1.Diaphragm
Sensing (แผ่นไดอะแฟรม) :
มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงแรงดันทําให้สามารถปรับแรงดันให้เข้า ค่าที่ตั้งไว้ได้เร็ว
แต่มีข้อเสียคือรับแรงดันที่สูงมากๆไม่ได้
2. Piston Sensing (ลูกสูบ) : สามารถรับแรงดันที่สูงมากๆได้ แต่ช้าต่อการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน
หวังว่าในบทความนี้จะช่วยคลายสงสัยของใครหลายคนได้ไม่มากก็น้อยนะคะ หากใครที่มีข้อสงสัย หรือเกร็ดความรู้เพิ่มเติมก็อย่าเก็บไว้คนเดียว คอมเมนต์มาแชร์กันได้ที่ด้านล่างนี้ แล้วพบกันกับสาระดีได้ในครั้งหน้า...อย่าลืมติดตามกันนะคะ
Comments
Post a Comment