Tube vs Pipe ต่างกันอย่างไร เลือกใช้แบบไหนเหมาะกว่ากัน

ไม่ว่า Tube หรือ Pipe คนไทยอย่างเรา ๆ ก็ชอบเรียกติดปากกันว่าท่อ แต่รู้หรือไม่จริง ๆ สองตัวนี้มีความต่างที่ค่อนข้างชัดเจนว่าแต่จะต่างอย่างไรไปดูกัน



การวัดขนาด

การจะซื้อ pipe จะต้องกำหนด 2 อย่างคือเสมอคือ ขนาดท่อ และ ความหนาท่อ ทุกครั้ง การวัดขนาดของ Pipe มักจะวัดจาก Outside Diameter (O.D.) และจะวัดออกมาเป็นค่าเฉลี่ย (Nominal OD (NPS) เป็นการบอกขนาดท่อเฉลี่ยกึ่งกลาง ระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางนอก (OD) และเส้นผ่านศูนย์กลางใน (ID)) ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราเอา Vernier มาวัด Pipe ขนาด 1 นิ้วโดยตรงเลยค่าที่ได้จาก Vernier จะเท่ากับ 1.315 นิ้ว หรือ 33.40 มม. ซึ่งทำให้ยากต่อการเรียก จึงเกิดการตั้งค่าเฉลี่ยนี้ขึ้นมาเรียกว่า nominal pipe size (NPS) สาเหตุที่เราต้องวัด Pipe ด้วย O.D. และ schedule number (wall thickness) เป็นเพราะ Pipe นั้นเวลาจะนำมาใช้เราจะต้องต๊าปเกลียวให้เกิดเกลียวตัวผู้บน Pipe การขึ้นเกลียวนี้จะทำให้ผนังของ Pipe บางลงทำให้ประสิทธิภาพการรับแรงดันของผนังท่อลดลง ดังนั้นความหนาของผนังตรงตำแหน่งร่องเกลียวนี้จะเป็นตัวกำหนดว่า pipe นั้นจะรับแรงดันได้ไม่เกินเท่าไหร่ แปลว่าถ้าจะคำนวณแรงดันจำเป็นจะต้องหักความลึกของเกลียวออกไปก่อนนั่นเอง ( Strange Capacity)


จุดเด่น

  • Contain media ได้หลากหลายชนิด
  • Pipe มีขนาดให้เลือกใหญ่กว่า Tube ทำให้สามารถส่งผ่านของไหลได้เยอะกว่า (Transport)
  • ราคาถูกว่า Tube ผลิตง่ายกว่า

จุดด้อย

  • Pipe มีน้ำหนักมาก
  • ต้องใช้ข้อต่อช่วยในบริเวณที่เป็นมุม เพราะ pipe ดัดได้ค่อนข้างยาก ไม่นิยม
  • มีความเสี่ยงในการเกิดการรั่วสูงกว่า เพราะส่วนใหญ่การรั่วจะเกิดขึ้นบริเวณข้อต่อเป็นหลัก
  • ในการบำรุงรักษาระบบ pipe จะต้องคอยถอดเส้นท่อออกเป็นระยะ

การวัดขนาด

Tube จะวัดขนาดจาก (O.D.) Outside Diameter ค่าที่วัดออกมาได้จะเป็นค่าจริง พูดง่าย ๆ คือ Tube ขนาด 1 นิ้วเมื่อเราใช้ Vernier วัด O.D. จะมีขนาดเท่ากับ1 นิ้ว หรือ 25.4 ม.ม. Tune ส่วนใหญ่จะผ่านการอบอ่อน(Annealing) เพื่อลดความเค้นภายใน ทำให้ tube อ่อนตัว ยืดหยุ่น โดยไม่ทำให้เสียคุณสมบัติของการรับแรงดัน

จุดเด่น

  • ไม่จำเป็นต้องทำเกลียวที่ปลายท่อ
  • Tube มีผนังที่บางกว่า pipe แต่มีอัตราการรับแรงดันได้เท่า ๆ กับ pipe ที่ผนังหนากว่า
  • Tube มีน้ำหนักเบาทำให้ติดตั้งหรือประกอบง่าย ค่าขนส่งก็จะถูกกว่า
  • Tube สามารถดัดได้ทำให้ลดการใช้ข้อต่อ ซึ่งนำมาถึงการลดโอกาสของการรั่วก็จะลดลง รวมไปถึงงบประมาณในการติดตั้งก็น้อยลงด้วย
  • ช่วยลด Pressure Drop ในระบบได้เพราะ tubing มีมุมหักน้อยกว่า pipe

จุดด้อย

  • มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนทำให้มีราคาที่สูงกว่า pipe
  • มีขนาดให้เลือกน้อยกว่า pipe




Pipe ส่วนใหญ่จะไม่นำมาอบอ่อน (Annealing) เพราะ pipe จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง เวลาต๊าปเกลียวจึงสามารถรับแรงดัน และซีลรั่วได้ แต่การอบอ่อนสามารถนำไปใช้ได้กับวัสดุหลากหลายประเภท เช่น โลหะผสมต่าง ๆ เพื่อประยุกต์สำหรับการขึ้นรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเครื่องประดับ, การปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุเป็นต้น

Reference
https://www.sciencedirect.com/topics/engineering/full-annealing

http://library.chanthaburi.buu.ac.th/fulltext/53320134.pdf

Comments