Intermix vs Interchange คืออะไรและสำคัญยังไง


การที่จะให้ระบบของไหลทำงานได้อย่างดีและเต็มประสิทธิภาพนั้นมักจะประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่างและอีกหนึ่งเรื่องที่ดูผิวเผินธรรมดา แต่อาจสร้างปัญหาให้คุณและระบบของคุณได้อย่างมากมายนั่นก็คือ เรื่องของ Intermix และ Interchange

Intermix

Intermix คือการผสมหรือปนส่วนประกอบของข้อต่อต่างแบรนด์/วัสดุ/ขนาด ที่ต่างกันเข้าด้วยกันในการติดตั้งครั้งแรก  

        

Interchange

คือข้อต่อจากหนึ่งแบรนด์ที่ผ่านการติดตั้งแล้ว มีการถอดออกมาซ่อมบำรุง (Disassembled) และติดตั้งกลับเข้าไปใหม่ (Reassembly) แต่มีการผสมส่วนประกอบของข้อต่อต่างแบรนด์/วัสดุ/ขนาด ที่ต่างกันเข้าด้วยกัน

  รูปแบบของ Intermix และ Interchange

1.การผสมแบรนด์

คือการผสมส่วนประกอบต่าง ๆ ของข้อต่อมากกว่าหนึ่งแบรนด์เข้าด้วยกันให้กลายเป็นข้อต่อหนึ่งตัว เช่น ใช้นัต และตาไก่ของแบรนด์ A ประกอบเข้ากับ บอดี้ของ Swagelok เป็นต้น ถามว่าทำไมถึงไม่ควรในเมื่อสุดท้ายก็ได้ข้อต่อที่มีส่วนประกอบครบถ้วนเช่นกัน แต่คุณรู้หรือไม่ว่าแต่ละแบรนด์มีการออกแบบโครงสร้าง, การซีลรั่ว, ความสามารถในการรับแรงสั่นสะเทือน และการจับยึด tube ที่ต่างกัน ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น ตาไก่ของ Swagelok ได้มีการจดสิทธิบัตรเป็นของตัวเอง


Swagelok twin ferrule design

นั่นแปลว่าไม่มีแบรนด์ไหนสามารถทำได้เหมือน ถึงบางแบรนด์จะเคลมว่าใช้ด้วยกันได้และมีผลการทดสอบมารับรอง แต่เราอยากให้คุณตระหนักว่าการทดสอบนั้น ๆ เป็นการทดสอบกับสินค้าแค่บางขนาด และผ่านการทดสอบในระยะเวลาสั้น ๆ ในห้องทดลองในบางปัจจัยเท่านั้น อย่าลืมว่าในห้องทดลองและหน้างานจริงมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ต่างกัน ซึ่งทำให้ผลการทดสอบนั้น ๆ คลาดเคลื่อนได้

ไหนจะเรื่องของการติดตั้งถ้าเป็น Swagelok โดยตรงก็จะระบุวิธีและจำนวนรอบของการขัน ข้อต่อ ที่ผ่านการคำนวนและทดสอบไว้แล้วอย่างชัดเจน ถ้าคุณผสมแบรนด์คุณจะทราบได้อย่างไรว่าควรจะขันเท่าไหร่กันแน่ถึงจะใช้ได้ และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือการรับประกัน หากมีการ Intermix แล้วเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้นแน่นอนว่าจะต้องมีมูลค่าของความเสียหาย ถามต่อว่าใครจะรับผิดชอบให้คุณกันหละ สำหรับ Swagelok ถ้าคุณ Intermix การรับประกันจะสิ้นสุดในทันที เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย แต่ทางที่ดีอย่าใช้ปนแบรนด์กันเลยจะดีที่สุด 


2.การผสมวัสดุ

กล่าวง่าย ๆ คือไม่ควรใช้วัสดุปนกัน เพราะวัสดุแต่ละวัสดุก็มีคุณสมบัติที่ต่างกัน สามารถแยกเป็น 2 ประเด็นหลัก ๆ ได้ดังนี้

2.1 เรื่องความแข็งของวัสดุ

วัสดุแต่ละชนิดจะมีความแข็งที่ต่างกันไป และวัสดุที่ต่างกันเมื่อต่อตรงเข้าด้วยกันจะเกิดการจับ Tube ได้ไม่สมบูรณ์หาก Tube มีความแข็งมากกว่าข้อต่อ อาจจะเกิดการรั่ว และการหลุดของ Tube ได้ เช่นเดียวกับการใช้ข้อต่อทองเหลืองกับ Tube  สแตนเลส เป็นสิ่งที่ไม่แนะนำเพราะทองเหลืองมีคุณสมบัติที่อ่อนกว่าสแตนเลส ทำให้ข้อต่อทองเหลืองไม่สามารถจับยึด Tube สแตนเลสได้ ถ้าเกิดเหตุไม่คาดคิดแทนที่ข้อต่อจะจับ Tube อยู่ Tube จะหลุดออกมาแทนซึ่งมันจะเป็นอันตรายมาก ๆ เพราะฉะนั้นวัสดุของข้อต่อจะต้องแข็งกว่าวัสดุของ Tube เสมอ

2.2 ความต่างศักย์ไฟฟ้า

วัสดุแต่ละชนิดจะมีค่าศักย์ไฟฟ้า เฉพาะตัวทำให้เกิดความสามารถในการถ่ายเทประจุได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้าหากเรานำวัสดุต่างชนิดกันมาต่อเข้าด้วยกัน เนื่องด้วยความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ไม่เท่ากันนี้จะเกิดการถ่ายเทประจุและ วัสดุที่ศักย์ต่ำกว่าจะถูกกัดกร่อนในที่สุด ซึ่งการกัดกร่อนแบบนี้จะเรียกว่าการกัดกร่อน แบบ Galvanic corrosion  ซึ่งการกัดกร่อนแบบนี้จะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวดล้อมหลายๆอย่าง เช่น อุณหภูมิ, ความชื้นเป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการกัดกร่อนแบบนี้เราจึงขอแนะนำให้ใช้วัสดุที่เหมือนกัน/เหมาะสมกับการใช้ในหน้างานนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ทองเหลืองกับ ทองแดงสามารถใช้ด้วยกันได้, สแตนเลส 316 และสแตนเลส 304 ใช้ด้วยกันได้เพราะเป็นวัสดุประเภทเดียวกัน, สแตนเลสใช้กับทองเหลืองใช้ด้วยกันไม่ได้ เนื่องจากมีความต่างศักย์ไม่เท่ากัน ถึงจะบอกว่าข้อต่อและตาไก่แบรนด์เดียวกัน แต่หากวัสดุที่ต่างกันก็ใช้ไม่ได้นะคะ

ตารางด้านล่างนี้คือตารางความต่างศักย์ไฟฟ้าของวัสดุ ซึ่งหากค่าความต่างศักย์ต่างกันน้อยมาก ก็จะไม่มีปัญหาในการถ่ายเทประจุ ดังนั้นหากจำเป็นจะใช้ด้วยกันก็ต้องมาดูตารางนี้ก่อนตัดสินใจใช้

Credit : Monarch Metal and Bartech

ถ้าข้อต่อเป็นสแตนเลสแล้วจะต่อเข้า กับ Tube ทองแดง หรือข้อต่อทองเหลืองจะต่อเข้ากับ tube สแตนเลสสามารถทำได้ไหม และจะมีผลเสียอะไรบ้าง?  


ใช้ข้อต่อสแตนเลส เข้ากับ Tube ทองแดง 

 สามารถติดตั้งได้ เพราะ Tube ทองแดง มีความแข็งน้อยกว่าข้อต่อสแตนเลส แต่ต้องคำนึงและยอมรับถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากความต่างกันของวัสดุที่มีความต่างศักย์ของประจุ อาจเหนี่ยวนำให้เกิดสนิมได้ในอนาคต ซึ่งจะเกิดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย
 

ใช้ข้อต่อทองเหลือง เข้ากับ Tube สแตนเลส

ใช้ไม่ได้ เพราะ Tube สแตนเลสแข็งกว่า ข้อต่อทองเหลือง ทำให้ตาไก่ไม่สามารถบีบรัดท่อได้สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการรั่ว และ Tube สแตนเลสหลุดได้ในอนาคต ซึ่งจะเกิดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับแรงดัน ชนิดของของไหล และ application ของระบบ 


ทางที่ดีไม่ควรใช้วัสดุผสมกันจะดีที่สุด อย่าเสี่ยงเลยจะดีกว่า


3.การผสมขนาด (size)

คือการใช้ผสมกันระหว่างขนาดที่ต่างกันเช่น การใช้ข้อต่อนิ้ว เข้ากับ Tube มิลลิเมตร หรือใช้ข้อต่อมิลลิเมตรเข้ากับ Tube นิ้ว ข้อนี้ต้องสังเกตให้ดีเพราะบางทีข้อต่อที่ขนาดใกล้กัน ๆ อาจทำให้เราสับสนได้ เช่นข้อต่อขนาด ¼” และ 6 มิลลิเมตร ผิวเผินดูเหมือนจะเป็นขนาดเดียวกันแต่ถ้าเอาเวอร์เนียร์มาวัดเทียบกันจริง ๆ จะรู้ได้เลยว่าข้อต่อ ¼” เมื่อวัดออกมาจะได้ขนาดอยู่ที่ 6.35 มิลิเมตร (6.35 มิลิเมตร   6.00 มิลิเมตร) และอีกตัวที่มักสับสนกันคือขนาด 1/2และ 12 มิลลิเมตร วัดขนาดจริงๆ ข้อต่อ 1/2วัดออกมาจะมีขนาด 12.70 มิลิเมตรนั่นเอง  (12.7 มิลิเมตร   12.00 มิลิเมตร) แต่ถ้าใครต้องการจะแปลงขนาดจริง ๆ แนะนำให้หาข้อต่อที่ข้างหนึ่งเป็นข้อต่อนิ้วและอีกด้านเป็นข้อต่อมิลลิเมตรจะดีกว่า


การใช้สินค้าและส่วนประกอบต่าง ๆ จากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือแบรนด์เดียวไปเลยจะดีที่สุดเพราะนอกจากจะลดโอกาสของการเกิด Intermix และ Interchange ได้แล้วนั้น เวลาที่เกิดจุดบกพร่องขึ้นในระบบ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญของแบรนด์นั้น ๆ จะสามารถเข้าไปช่วยคุณแก้ไขปัญหาให้จบได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา และประหยัดต้นทุนที่คุณต้องเสียไประหว่างระบบหยุดทำงานไปได้มาก ทั้ง Safe และ Save ในคราวเดียวเลย

Comments